ReadyPlanet.com
bulletDYNO Exit Light
dot
dot
bulletUPS เครื่องสำรองไฟ
bulletVoltage Stabilizer/AVR
bulletTransformer หม้อแปลงไฟฟ้า
bulletPower Supply DC
bulletVFD Inverter "DELTA"
bulletอุปกรณ์กันระเบิด Explosion Proof
bulletLighting Fixture (โคมไฟ)
dot
dot
bulletPressure Gauge
bulletSolar Street Light
bulletปั๊มน้ำ Stac Pump
bulletPower tools
dot
dot
bulletHand tools accessory
bulletElectrical accessory
dot
dot


การติดตั้งใช้งาน Central Unit Emergency light
การติดตั้งใช้งาน Central Unit Emergency light    แก้ไขลบ
 
 

 

การติดตั้งใช้งาน Central Unit Emergency light              

 

ตอนที่ 1

        เรามาทำความรู้จักกับชื่อที่ใช้เรียกเพื่อความเข้าใจตรงกัน ระบบจ่ายไฟฉุกเฉินแบบนี้ มีหลากหลายชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามความถนัด เช่น Central Battery, Central Unit Emergency light, High Power Emergency light, UPS, Invertor Emergency light หรือ ไฟฉุกเฉินส่วนกลาง หรือไฟฉุกเฉินแบบรวมศูนย์  

      Central Unit Emergency light 12-24Vdc และ Diagram การต่อหลอดไฟ

         การเลือกใช้งาน ก่อนอื่นเราจะต้องดูตามแบบแปลนไฟฟ้า และความต้องการใช้งาน ต้องการใช้หลอดไฟแบบใหน ใช้ระบบไฟ 12 หรือ 24Vdc. หรือ 220Vac  และการติดตั้งใช้งาน จำนวนหลอดไฟที่ใช้ ระยะห่างในการติดตั้งและเดินสายไฟ เพื่อเลือกระบบไฟที่ต้องการ (ในปัจจุบันจะใช้เป็นหลอดไฟ LED เพื่อความประหยัดไฟ และเครื่องมีขนาดเล็ก)

        ระบบไฟ DC 12V. หรือ 24V. จะเป็นแบบ Non-maintained คือในสภาวะปกติ ระบบจะอยู่ในสภาวะ Standby พร้อมใช้งาน หลอดไฟจะไม่ติดเมื่อ เกิดเหตการณ์ไฟฟ้าดับ หลอดไฟก็จะติดสว่างขึ้นมาเพื่อส่องสว่าง ใช้งานร่วมกับหลอดไฟ LED 12-24Vdc ระยะในการติดตั้งหลอดไฟห่างจากตัวเครื่อง 10-30เมตร ควรเลือกใช้ระบบไฟ 12V. หากระยะการติดตั้งหลอดไฟใกลมากขึ้นก็ควรเลือกใช้ ระบบ 24V. เพื่อช่วยลดความสูญเสียในสายไฟ

          ระบบไฟ AC 220V. ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าต้องการแบบ Maintained คือจ่ายไฟให้หลอดไฟติดสว่างทั้งขณะที่ไฟมาปกติและไฟดับ หรือแบบ Non-maintained คือจะจ่ายไฟเฉพาะขณะไฟฟ้าดับเท่านั้น ข้อดีของระบบนี้คือสามารถใช้ร่วมกับหลอดไฟ 220V. ทั่วไปได้ และเมื่อใช้คู่กับ Transfer relay จะทำให้หลอดไฟฉุกเฉินชุดนั้นยังสามารถเปิด-ปิดไฟได้ตามปกติ เมื่อเกิดเหตไฟฟ้าดับก็จะสลับมาใช้ไฟ Emergency โดยอัตโนมัติ   

         การเลือกขนาดของเครื่อง Central Unit Emergency light ให้เหมาะสมกับ Load เมื่อใช้หลอดไฟร่วมกันหลายๆหลอด ให้ดูขนาดหลอดไฟที่เลือกใช้ กี่โวลท์  กี่วัตต์ โดยนับจำนวนหลอดไฟ และขนาดวัตต์ ของทุกๆ โคมรวมกัน แล้วจึงเลือกระบบเครื่อง และกำลังวัตต์ให้พอดีกับหลอดไฟ หรือเลือกให้มีขนาดกำลังสูงกว่าเล็กน้อย เผื่อการเพิ่มเติมในอนาตด  

       

         เช่นพื้นที่สำนักงานขนาดกลาง เลือกใช้หลอดไฟ Down light 12Vdc ขนาด 9W. 2ชุด และ Spot light แบบติดเพดาน 2xW 3ชุด  รวม Load ได้  72เลือกใช้เครื่อง Central Battery Control Unit CCU 12-80 ขนาด 12โวลท์ กำลัง 80วัตต์ หรือเผื่อขนาดไว้อีกเล็กน้อยเป็นรุ่น CCU 12-110 ขนาด 12โวลท์ กำลัง 110วัตต์

        สำหรับเครื่องมาตรฐานหากใช้งานเต็มกำลังวัตต์ จะสามารถสำรองไฟตามกำลังวัตต์ได้นาน 2ชม. หากเราเลือกขนาดเครื่องที่ใหญ่ขึ้น ก็จะสามารถสำรองไฟได้นานยิ่งขึ้น 

 

งานติดตั้ง ให้เป็นไปตาม มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ วสท.2004-54  

        ปล.หากลูกค้าต้องการสอบถามปัญหาในการออกแบบ ติดตั้ง เลือกใช้ รวมทั้งปัญหาการใช้งาน และการตรวจสอบ ท่านสามารถโทรเข้ามาปรึกษาได้ตามที่อยู่และเบอร์โทรของทางบริษัท ด้วยความยินดีอย่างสูง

 

ขอได้รับความขอบคุณจากทีมงาน บ.วิน วิน ยูนิเวอร์ส จำกัด

โทรศัพท์ : 02-755-7383 , 02-754-8844 ID Line :   @528hktgq

 

อีเมล์ : suv.winwin@gmail.com, winwinuni99@gmail.com

 




NEWS

วิธีการติดตั้ง Sealing Fitting
การติดตั้ง DYNO Exit Light
ไฟฉุกเฉิน DYNO แบตเตอรี่ลิเที่ยม
การติดตั้งหลอดไฟ LED T8
การติดตั้งใช้งานไฟฉุกเฉิน Emergency light 220Vac
การติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉินระบบ220V
ทำไมถึงควรเลือกป้ายไฟสะท้อนแสง
คู่มือการใช้งานของแบตเตอรี่ 3K
การเลือกรูปแบบและขนาดป้าย Exit sign
การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉิน
การดูแลบำรุงรักษา Deep Cycle Battery (แบบแห้ง)
การใช้งานและดูแลแบตเตอรี่แห้ง SLA Maintenance Free Battery